15/2/55

โรคภูมิแพ้ คืออะไร

อาการภูมิแพ้มีอะไรบ้างคะ แล้วยาแก้แพ้มีสองแบบ กินแล้วง่วงกับไม่ง่วง ในเมื่อมีแบบไม่ง่วง แล้วจะเอาแบบง่วงมาทำไมคะ

โรคภูมิแพ้, ภูมิแพ้, สารที่ก่อภูมิแพ้, ยาแก้แพ้, น้ำมูกข้อมูลจากโรงพยาบาลนวนครระบุว่า โรคภูมิแพ้ คือ โรคที่เกิดขึ้นเมื่อไปสัมผัสหรือรับสารที่แพ้เข้าร่างกาย เป็นโรคที่เกิดขึ้นเองไม่มีการติดต่อเพราะไม่ได้เกิดจากเชื้อโรค
 แต่มีการถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์ ในประเทศไทยมีปัญหาเรื่องโรคภูมิแพ้เพิ่มมากขึ้นตามความเจริญทางวัตถุและความเสื่อมโทรมทางธรรมชาติ การเพิ่มขึ้นของมลพิษทางอากาศ อาหาร ภาวะตึงเครียดของจิตใจ

1. สารก่อภูมิแพ้โดยการสูดดม ได้แก่ เกสรหญ้า วัชพืช ต้นไม้ สปอร์ของรา ฝุ่นบ้าน ขนสัตว์ของสุนัขและแมว เป็นต้น

2. สารก่อภูมิแพ้โดยการสัมผัส เช่น น้ำหอม เครื่องสำอาง เครื่องประดับประเภทโลหะ นิกเกิล รองเท้ายาง ถุงมือ ถุงอนามัย เสื้อชั้นใน ยาทาเล็บ

3. สารก่อภูมิแพ้โดยการรับประทาน เช่น เครื่องดื่ม ยา อาหารทะเล ไข่ นม ข้าวสาลี ช็อกโกแลต ถั่วเมล็ดต่างๆ อาหารที่มียีสต์เป็นส่วนประกอบ เช่น ขนมปัง ไวน์ เบียร์ น้ำส้มสายชู ไส้กรอก น้ำผลไม้บางชนิด เช่น สับปะรด มะม่วง เครื่องปรุงแต่งรส เช่น ผงชูรส

4. สารที่ก่อภูมิแพ้โดยการฉีดเข้าร่างกาย เช่น ยาเพนนิซิลิน

อาการมีได้ต่างๆ กันแล้วแต่ชนิดของโรค ปริมาณสารที่ได้รับ หรืออวัยวะที่ได้รับสารนั้น อาการอาจจำกัดอยู่เฉพาะที่

1. ทางตา หู คอ จมูก มีอาการคันตา คันหู คันจมูก จาม น้ำมูกไหล หายใจลำบาก แน่นจมูกและหลอดลม คันคอ ระคายคอ ไอ แน่นหน้าอก หายใจลำบาก หรือหอบหืด

2. ทางเดินอาหาร มีอาการปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย

3. ผิวหนัง มีตุ่มแดง คัน อาจมีน้ำเหลืองไหล ลมพิษ

4. บางครั้งอาจมีอาการหลายอย่างพร้อมกัน เช่น ใจสั่น ชีพจรเต้นเร็ว ความดันโลหิตต่ำ หน้าซีด เหงื่อออก เวียนศีรษะ เป็นลม หรือช็อกตายได้ เช่น แพ้ยาเพนนิซิลิน

สำหรับยาแก้แพ้ใช้เพื่อบรรเทาและป้องกันการแพ้ ออกฤทธิ์ต้านสารภูมิแพ้ฮิสตามีนที่อวัยวะเป้าหมาย ยา กลุ่มนี้บางตัวยังถูกนำไปใช้แก้อาการเมารถเมาเรือ บ้านหมุน โรคพาร์กินสัน ช่วยให้นอนหลับ คลายความกังวล แบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ คือ ทำให้ง่วงนอน และ ไม่ทำให้ง่วงนอน (อันที่จริงแล้วไม่ใช่ไม่ง่วงเลย โดยมีกลุ่มคนบางคนประมาณ 2-5% ที่พบการง่วงได้)

ทั้ง 2 ประเภทมีฤทธิ์บรรเทาการแพ้ จาม คัน ลมพิษ ได้ดีพอกัน ข้อแตกต่างมี 1 ข้อที่สำคัญคือ ยากลุ่มที่ง่วงนอน มีฤทธิ์ทำให้น้ำมูกแห้งทันที จึงใช้ลดน้ำมูกที่เกิดจากหวัดได้

แต่ฤทธิ์ลดน้ำมูกของยากลุ่มที่ง่วงนอน ก็มีผลเสียเหมือนกันเพราะการที่ทำให้น้ำมูกแห้งจนเกินไป จะทำให้น้ำมูกเหนียว เสมหะเหนียว น้ำลายแห้ง จึงเป็นข้อห้ามใช้ในผู้ที่เป็นโรคหอบหืด ไซนัสอักเสบ นอกจากนี้ยังห้ามใช้ในผู้ที่เป็นโรคต้อหิน ต่อมลูกหมากโต ผู้ที่ปัสสาวะลำบาก เป็นต้น

กลุ่มง่วงนอน เช่น คลอเฟนิรามีน บรอมเฟนิรามีน มีข้อดีคือ ออกฤทธิ์เร็ว ได้ผลดี ข้อเสียคือกินแล้วง่วงมากและถ้ากินติดต่อกันนานๆ อาจดื้อยา

กลุ่มไม่ง่วงนอน เช่น โลราตาดีน เซติริซีน กินแล้วไม่ง่วง ทำงาน หรือเรียนหนังสือได้ตามปกติ ยาออกฤทธิ์นานกินยาเพียงวันละ 1-2 เม็ด แต่ก็มีข้อเสียคือยาออกฤทธิ์ช้า อาจใช้เวลา 1-72 ชั่วโมง และประสิทธิภาพสู้ยาแก้แพ้ทั่วไปไม่ได้


0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Twitter Delicious Facebook Digg Stumbleupon Favorites More

 
Design by Free WordPress Themes | Bloggerized by Lasantha - Premium Blogger Themes | coupon codes