4/11/60

วิธีเพาะเห็ดฟางในตะกร้าพลาสติก

นี่คือเห็ดฟางค่ะ ต้มผัดแกงทอดสามารถใส่เห็ดได้หมด แล้วทำไมเห็ดจะขายไม่ดีเล่า ปัจจุบันราคาอยู่ที่กิโลกรัมละ 60-80 บาทก็ยังขายดี แถมวันนี้เรามีวิธีเพาะเห็ดฟางในตะกร้าพลาสติกมาฝากกันค่ะ




 รับรองว่าใครที่สนใจหารายได้เสริมแบบเร่งด่วน ได้ผลตอบแทนดีต้องมีเห็ดฟางอยู่ในใจตอนนี้อย่างแน่นอน


การเพาะเห็ดฟางในตะกร้าช่วยลดการใช้พื้นที่ เคลื่อนย้ายสะดวก อีกทั้งยังสามารถเก็บผลิตได้ง่าย แค่ภายในหนึ่งสัปดาห์ก็สามารถเก็บผลผลิตได้แล้ว จึงเหมาะสำหรับผู้สนใจเริ่มต้นทำเพื่อไว้บริโภคเองในครัวเรือนหรือเพื่อศึกษาแล้วต่อยอดเพื่อเพาะเห็ดฟางขายต่อไป

วัสดุอุปกรณ์สำหรับการเพาะเห็ดฟาง
1. วัสดุเพาะเห็ดฟางหลักๆ ได้แก่ ฟาง ฟางทุกชนิด แห้งสนิทไม่เปียกฝนมาก่อน ถ้าเป็นตระกร้าใหม่ก็สามารถนำมาเพาะเห็ดได้เลยหรือถ้าเป็นตร้าที่เคยเพาะเห็ดมาแล้วควรทำความสะอาดและตากให้แห้ง
2. อาหารเสริม เช่น ผักตบชวาสด หรือแห้ง เปลือกถั่วต่างๆ ผักบุ้ง มูลวัว/ควายแห้ง รำ เศษฝ้าย ไส้นุ่น ก้อนเชื้อนางรม/นางฟ้าเก่า เป็นต้น
3. อุปกรณ์อื่นๆ ได้แก่ ตะกร้า พลาสติก บัวรดน้ำ เชื้อเห็ดฟาง



การดูแลรักษาสำหรับการเพาะเห็ดฟางในตระกร้า
-สถานที่ควรเป็นพื้นดิน ใต้ร่มไม้หรือร่มสนิท
-ซ้อนตะกร้า เป็นรูปสามเหลี่ยม แนวยาว 1 แถว หรือ 2 แถว
-รดน้ำที่พื้นดินให้เปียกแฉะ จะได้ความชื้นจากการระเหยของน้ำที่ดิน
-คลุมด้วยพลาสติก ทับด้วยฟางแห้ง หรือแสลน ปล่อยทิ้งไว้ 3 คืน
-ครบ 3 คืน เปิดระบายอากาศตรงกลาง แล้วคลุมไว้เหมือนเดิม อีก 3-4 วันเก็บผลผลิตได้
-ผลผลิต 1 ตะกร้า 1 กิโลกรัม ขึ้นอยู่กับอาหารเสริม ยิ่งใส่มาก ผลผลิตยิ่งสูงตาม
-อาหารเสริมจะใช้อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือใช้ร่วมกันหลายๆอย่างก็ได้



วิธีการ เพาะ เห็ดฟาง
-ฟางแช่น้ำค้าง 1 คืน
-หัวเชื้อ 1 ก้อน แบ่งเป็น 3 กอง เพาะได้ 3 ตะกร้า
-ฟางอัดลงก้นตะกร้ากดให้แน่น สูง 1 ฝ่ามือ
-อาหารเสริมต่างๆแช่น้ำพอชื้น โรยชิดขอบตะกร้า
-โรยเชื้อเห็ดฟาง 1 ส่วนทับบนอาหารเสริม เสร็จชั้นที่ 1
-ทำชั้นที่ 2 และ 3 เหมือนชั้นที่ 1
-ชั้นบนสุด โรยอาหารเสริมเต็มหน้าตะกร้า โรยเชื้อให้ทั่ว กลบด้วยอาหารเสริมอีกครั้ง



มาดูวิธีการเพาะเห็ดฟางอย่างง่าย โดย ชมรมเกษตรอินทรีย์ธรรมศาสตร์กันบ้าง
1. ทุบก้อนเชื้อ(ได้จากการเพาะเห็ดในถุงพลาสติก) ให้แตกพอแหลก แต่ไม่ต้องละเอียด
2. ใส่วัสดุเพาะลงในตะกร้าสูงประมาณ 2-3 นิ้ว กดให้พอแน่น และ ให้ชิดขอบตะกร้า
3. โรยผักตบชวาที่หั่นไว้ ลงบนวัสดุเพาะ โดยรอบ


4. นำเชื้อเห็ดฟางมาโรยบนวัสดุเพาะได้เป็น ชั้นที่ 1
5. ทำชั้นที่ 2 และ 3 ด้วยวิธีการเดิม ปิดชั้นที่ 3 ด้วยวัสดุเพาะ ได้เป็น 1 ตะกร้า  


6. นำตะกร้าเห็ดฟางใส่กระโจมเพาะเห็ดฟาง 


7. รักษาอุณหภูมิในโรงเรือนให้อยู่ที่ 33-38 องศา เมื่อเส้นใยเดินเต็มวัสดุจึงรดน้ำด้วยบัวฝอย 


8. เมื่อเกิดตุ่มดอกแล้วรักษาอุณหภูมิให้อยู่ระหว่าง 28-32 องศา ช่วงนี้เห็ดฟางจะเจริญเติบโตขึ้น
9. เก็บดอกตูม หัวพุ่ง ของเห็ดฟาง ให้ชิดรูตะกร้า 


การดูแลตะกร้าเพาะเห็ดภายในโรงเรือน และการให้ผลผลิต
1.ในช่วง 1-4 วัน (ฤดูร้อนและฝน) ส่วนฤดูหนาว ช่วง 1-7 หรือ 8 วัน แรก ต้องควบคุม อุณหภูมิ ภายในกระโจมหรือโรงเรือน ให้อยู่ในระดับ 37-40 องศาเซลเซียส
 ติดเทอร์โมมิเตอร์แขวนไว้ภายในโรงเรือนหรือกระโจม ระดับสูงจากพื้นดิน เพื่อตรวจดูอุณหภูมิให้ได้ระดับที่กำหนดไว้เสมอ



หากอุณหภูมิสูงเกินไปให้เปิดช่องลมระบายอากาศด้านบนของโรงเรือนหรือใช้วัสดุพรางแสงคลุมหรือรดน้ำรอบกระโจมเพื่อลดอุณหภูมิ


หากอุณหภูมิต่ำกว่ากำหนดต้องปิดช่องระบายอากาศให้มิดชิด หรือใช้หลอดไฟ 100 วัตต์วางไว้ในโรงเรือนเพาะเห็ด ห่างจากตะกร้า ประมาณ 1 คืบ หรือ 10 นิ้ว เพราะมิฉะนั้นแล้วอาจเกิดความร้อนเกินไป ในกรณี นี้ต้องยกตะกร้าเพาะเห็ด ให้สูงขึ้นโดยวางตะกร้า เพาะไว้บนชั้นโครงเหล็กจะสะดวกต่อการปฏิบัติงานยิ่งขึ้น
หมายเหตุ : ควบคุมความชื้นสัมพัทธ์ ภายในกระโจม หรือโรงเรือน ให้อยู่ในระดับ 80 เปอร์เซ็นต์ ขึ้นไปโดยใช้ ไฮโดยมิเตอร์แขวนไว้ภายในโรงเรือน ระดับเดียวกันกับเทอร์โมมิเตอร์

ที่มา : lonely-rooyang.com

1 ความคิดเห็น:

Blogger กล่าวว่า...

Looking to join new affiliate programs?
Visit our affiliate directory to see the ultimate list of affiliate programs.

แสดงความคิดเห็น

Twitter Delicious Facebook Digg Stumbleupon Favorites More

 
Design by Free WordPress Themes | Bloggerized by Lasantha - Premium Blogger Themes | coupon codes